16/2/59

มิชชั่น 4 : DIY สุ่ม4 สุ่ม5 ผลิต


ลังจากคิดว่าศึกษามาดีพอแล้ว 
มั่นใจละ....มีวัตถุดิบพร้อมกว่า 50%...ลุยต่อ

ก่อนอื่นเราต้องการพื้นที่ใหญ่พอ ที่จะทำงานสร้างกล่องเหล็ก 4 กล่อง ขนาดโดยเฉลี่ย
3ก x 6ย x 2.5ส เมตร / 1 กล่อง...เลยตัดสินใจเช่าโกดังเก็บของแถวลำลูกกาคลอง 4 ตัดกับถนนวงแหวน
ซึ่งน่าจะสะดวกในการขนย้าย

โครงหลักใช้เหล็กกล่อง 4 x 4 นิ้วขึ้นโครงเสา และ
คาน สำหรับวางพื้นวีว่าบอร์ดหนา 15 มิล.
และเหล็กคานสำหรับวางโครงหลังคา กรุแผ่นฉนวน Isowall
ผนังเจาะช่องประตู-หน้าต่าง เตรียมใส่แผ่นฉนวน
Isowall
ส่วนหลังคาทำเอียงเล็กน้อยเพื่อระบายน้ำ






































   ารตกแต่งผิวกล่องเหล็ก โดยนำไม้รีไซเคิลมาขัดผิวให้สะอาด และปิดทับผิวด้านนอกลักษณะซ้อนเกล็ดเลียนแบบบ้านไทยโบราณ

ภายในโชว์ผิวแผ่นIsowall ส่วนงานเดินท่อร้อยสายไฟเป็นลักษณะเดิน  เปลือยโชว์ท่อไฟ
บางผนังก็นำเอาเศษประตู - หน้าต่างเก่า มาจัดลวดลายให้น่าสนใจ

สรุปค่าใช้จ่าย : ค่าโครงเหล็ก , วีว่าบอร์ด และ แผ่นฉนวน Isowall ผนัง และ หลังคา
                            เป็นเงิน 80,000 บาท / 1 ตู้

                        ค่าผิวไม้รีไซเคิล , ประตูเก่า , ช่องหน้าต่างอลูมิเนียม
                            เป็นเงินเฉลี่ย 70,000 บาท / 1 ตู้
                            ( แตกต่างกันตามแบบของแต่ละกล่อง )


การขนส่ง และประกอบหน้างาน

กล่องเหล็ก 4 กล่องถูกยกขึ้น รถเฮี๊ยบ 4 คันในเวลา 3 ชั่วโมง และออกเดินทางสู่
โครงการ " บ้านไร่พอเพียง "
การยกติดตั้งบนฐานอาคาร และยึดตัวกล่องเข้ากับโครงสร้างอาคาร ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง              

 งานก่อสร้างส่วนฐานรากและเสา ทำไปพร้อมๆกับกล่องเหล็ก 4 กล่อง ใช้เวลา 7 เดือนแบบชิลๆถ้าเร่งกันจริง 4 เดือนน่าจะเสร็จ งานที่เหลือก็เป็นงานติดตั้งหลังคา , ประตู-หน้าต่าง , งานเก็บ , งานจัดเฟอร์นิเจอร์ , เครื่องใช้-เครื่องมือ และงานสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คืองานสวน ( หัวใจของงาน )





หมายเหตุ : หลังคาเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับกันแดด และระบายอากาศเหนือตัวกล่อง... ลดความร้อนให้กับตัวกล่องเหล็ก  แม้ว้าตัวกล่องจะกรุด้วยฉนวนกันความร้อนก็ตาม แต่เมื่อเราปิดบ้านหมด...ฉนวนนี้จะกักความร้อนไว้ภายในตัวกล่อง...กลายเป็นเตาอบดีๆนี่เอง!

มิชชั่น 4 : Recycle Thinking ! Let's save the earth

การเตรียมงาน :
การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีอยู่ และจัดซื้อเพิ่มเติม

- ประตู , หน้าต่าง , บานเกล็ด , ช่องแสง , บานเฟี้ยม
- ผนังไม้ , พื้นไม้ , ขั้นบันได
  หาซื้อได้จากร้านขายไม้เก่า ย่านถนนรังสิต-นครนายก
   ราวๆ คลอง 9 ถึง คลอง 11 ( บางส่วนมาจากของสะสมเหลือ      มาจากงานโครงการต่างๆ
- ไม้อัดฉำฉาแผ่นเดิมใช้เป็นลังส่งสินค้า
   หาได้แถวถนนลำลูกกาคลอง  2
-  ชิงช้า , เฟอร์นิเจอร์ ไม้เก่า , ไม้ซุง
   หาได้แถวถนนลำลูกกาคลอง  2
-  ไม้เสากลม , ไม้ลูกนอนบันได , เฟอร์นิเจอร์ไม้โบราณ
    หาได้จากร้านแถวถนนมิตรภาพ เลยทางแยกเข้าเขาใหญ่
    สัก 2 กิโล อยู่ฝั่งซ้ายขาออกมุ่งหน้าไปโคราช



มิชชั่น 3 : แบบก่อสร้าง

ผังแปลน ชั้น 1 , 2 และ รูปด้าน รูปตัด และ รายละเอียดอื่นๆ ฯลฯ

แปลน และ รูปด้าน ถูกส่งให้ผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอเลขที่บ้าน  ตลอดจนขอมิเตอร์ไฟชั่วคราวเพื่อใช้ในการก่อสร้าง
ปัญหา ???  ไม่มีเสาไฟอยู่ในพื้นที่เลย  ใกล้สุดก็ประมาณกิโลกว่าจากเสาไฟหลักริมถนน
เอาไงดี ?.....ตั้งหลักก่อน...." หาทางเลือกศึกษาก่อน "...ปรึกษากับตัวเอง

ทางเลือก 1 : ไม่ง้อไฟ "การไฟฟ้าฯ" ยุคนี้ไฮเทคแล้ว  เมืองไทยมี Solar cell พัฒนาแล้วนิ...ติดต่อผู้รับเหมาประเมินราคาเลย   จัดคำนวนรายการเครื่องใช้ไฟฟ้าส่งตีราคาเลย...ผลลัพท์...ต้องมีงบล้านกว่า !
ขนาดว่าจัดเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบพอเพียงสุดๆแล้วนะ...แต่อย่างว่าไอ้เครื่องที่จำเป็น มันดันรับประทานไฟ
แบบสุดๆ เช่น ตู้เย็น , เครื่องทำน้ำร้อน , ไมโครเวฟ , เตา ,กาต้มน้ำ , หม้อหุงข้าว . แอร์  ทุกอย่างดูเหมือนมันจำเป็นไปหมด

ก็มันคนกรุงเทพฯอยู่แต่ในห้องทำนอน,ห้องนอน,และในรถ...เปิดแอร์ตลอด  ใครจะออกไปสูดคาร์บอนฯนอกตึกละ...ถ้าไม่จำเป็น... ใช่ไหมละ ?

" น้อยไว้..เรียบไว้ , พอเพียง...เพียงพอ , พุทโธ...พุทโธ " .... ท่องคาถาในใจ

ทางเลือกที่ 2 : หาเพื่อนบ้านแชร์...เจ้าของที่คนอื่นๆที่ต้องการไฟฟ้า และอยู่ในแนวเสาไฟเดียวกัน

สรุปเป็นว่า...ถ้าต้องการขอขยายไฟ 3 เฟส  การไฟฟ้าประเมินงบให้ตก 2ล้านกว่า
                    ถ้าต้องการขอขยายไฟ 1 เฟส  การไฟฟ้าประเมินงบให้ตก 6แสนกว่า
แน่นอนถูกไว้ก่อน...แชร์กันสามเจ้ามือตก...เกือบ 2 แสน ( ค่อยยังชั่ว )






สมาชิกก่อตั้ง


โครงการ "บ้านไร่พอเพียง"
สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง



บทสรุป " มิชชั่น 2 "

สไตล์ 

ขอเลือกแนวทางแบบที่ 2:

แนวตู้คอนเทนเนอร์ แต่คงต้องสร้างขึ้นเอง เพื่อให้ได้ความกว้าง 3 เมตร...พอดีกับขนาด "รถเฮี๊ยบ"
ที่จะใช้บรรทุก และการผลิตจะผลิตที่กรุงเทพฯ 70 %  ยกเว้นส่วนฐานราก และ เสา  ซึ่งจะก่อสร้างไปพร้อมๆกันกับการผลิตตู้เหล็ก โดยช่างท้องถิ่น
วัตถุดิบที่เหลือใช้เศษวัสดุเหลือใช้นำมารีไซเคิล เช่น ไม้ผนัง , ไม้พื้น , ไม้ฉำฉา ฯลฯ
นำมาตกแต่งผิวตู้ เพื่อลดความแข็งกระด้างของความเป็นตู้เหล็ก

และแนวทางแบบที่ 4:

ลักษณะบ้านท้องถิ่นที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และมีลักษณะบ้าน 2 ชั้นและมีชานระเบียงกว้าง โดย

ชั้น 1 : น่าจะมีห้องพัก และห้องน้ำ สำหรับคนสวน หรือคนเฝ้าบ้าน และเพิ่มห้องเลี้ยง กระต่าย สักห้อง
เนื่องจากตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเราก็ควรจะมีผลิตผลบางอย่างที่สามารถสร้างรายได้เพิ่ม และด้วยพื้นที่ "บ้านไร่พอเพียง" มีไม่มากหนัก  ทำให้ปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆได้น้อย  แต่สำหรับการเพาะเลี้ยงกระต่ายใช้พื้นที่น้อยกว่า  ส่วน..พืชและผัก ผลไม้ ไข่ไก่ ปลา ก็เอาไว้บริโภคเองแล้วกัน

ชั้น 2 : ประกอบด้วย ห้องนอน 2 ห้อง , ห้องทำงาน-ห้องนั่งเล่น , ครัว และ ชานที่กว้างสไตล์บ้านไทย


ภาพที่ติดตา :

สมัยเด็กๆ ที่คุณครู ให้ทำ ส.ค.ส. ส่ง
เรามักจะวาดภาพทิวทัศน์ ทุ่งนา , กองฟาง , ภูเขา ฝูงนก และ พระอาทิตย์ จนชินทุกปี ( วาดจนเก่ง )
ก็เลยนำมาเป็นแรงบันดาลใจสร้าง
" บ้านไร่พอเพียง " ซะเลย !





เกือบลืม / นอกจากกระต่ายพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ที่เลี้ยงที่บ้านกรุงเทพฯ   และก็ไม่เคยมีลูกมีหลานเลย

เรายังมีนกเลิฟเบิร์ดอีก 10กว่าตัว...ก็ควรจะย้ายไปด้วยซิ !  คงต้องเพิ่มกรงนกขนาดสัก 1.5 X 3 เมตร
ไว้ใต้ถุนบ้านด้วย ( ชักเยอะแฮะ )







" เสียใจด้วยนะ สำหรับเจ้าหมูน้อย และ วัว "
เลี้ยงไม่ไหวแน่....อยู่ด้วยกันคงตายหมู่...แน่เลย !