20/2/59

พลังแห่งธรรมชาติ

พายุฤดูร้อน 20 มีนาคม 2557

ม่มีวี่แววใดๆมาก่อน  ท่ามกลางอากาศที่ร้อนสุดๆ  บ่อน้ำก็ยังไม่มีน้ำเลย...รอหน้าฝนนี้แหละ!  ยังดีที่ยังพอมีน้ำบาดาลใช้  ยังไงก็คงต้องประหยัดน้ำให้มากที่สุด  สงสารต้นไม้ที่เพิ่งเริ่มลง...ยังไม่ทันไรอาการเริ่มออกแล้ว

ช่วงหัวค่ำ..เริ่มรู้สึกชื้นๆ...แต่อบไปด้วยความร้อนเหมือนอยู่ในเซาว์น่า อยู่ดีดี...ลมก็แรง และแรงขึ้น ตามลำดับ...พายุฝนเข้า...ตามด้วยลูกเห็บ ขนาดเท่าลูกกอล์ฟอีกนับพัน...อยู่นานเกือบชั่วโมง
ช่างทุกคนหนีเข้าไต้ถุนบ้านกันหมดเกิดมาไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน














             เช้าตรู่...ออกสำรวจความเสียหาย...กระเบื้องมุ้งหลังคาหลายแผ่นหลุดลอยไปไกล  บางแผ่นไปไกลกว่า 400 เมตร  แต่ที่แปลกรัศมีที่เกิดพายุลูกเห็บเป็นช่วงแคบๆ รัศมีไม่เกินกิโล ถามชาวบ้านละแวกนั้น...บางคนไม่เจอพายุเลย...แปลกมาก  มันคงขึ้นกับอุณหภูมิที่พื้นผิวดิน และ อุณหภูมิโดยรอบที่มีความแตกต่างกันมาก เพราะแถวนี้ไม่มีต้นไมใหญ่เลย และดินก็แห้งมาก


เรื่องราวพายุฤดูร้อน

ายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูร้อนหรือเรียกว่าพายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้นในช่วง เดือนเมษายนหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน  ขณะที่อุณหภูมิในภาคต่างๆเริ่มสูงขึ้น   เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร   ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลาง 

อากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมา จากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้ามีลมเหนือ (อากาศเย็น) พัดลงมาจากประเทศจีนคราวใดจะทำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน 

เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว มีฟ้าแลบ (Lightning) ฟ้าร้อง (Thunder) และฟ้าผ่ารวมอยู่ด้วย นอกจากนี้มักจะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นมีน้อยครั้งที่เกิด ขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง

โดย ทั่วไป พายุฤดูร้อนนี้มักเกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

เนื่องจากการแผ่ลิ่มของความกดอากาศสูงจากประเทศจีนลงมาบริเวณภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนและชื้น มีการยกตัวของมวลอากาศอยู่บ้างแล้ว แต่เมื่อมีอากาศเย็นจากบริเวณความกดอากาศสูงซึ่งมีลักษณะจมตัวลงและมี อุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้มวลอากาศร้อนยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่ก่อตัวขึ้นก็จะเจริญขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิยอดเมฆต่ำกว่า -60 ถึง 80 องศาเซลเซียส จึงทำให้เกิดลูกเห็บตกได้






ไม่มีความคิดเห็น: